จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน

                ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย  เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติ ตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
                ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็น สมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ  เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและ จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็น เพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการ เชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลาย หมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยัง เครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณ ข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
                การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์ เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรม บางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวน มากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
                เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก  จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

             ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุก คนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่      บัฟเฟอร์ ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม

                ดังนั้นจึงควรมีความรับ ผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดัง นี้
  • ตรวจสอบ จดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภาย ในโควต้า ที่กำหนด
  • ลบข้อความ หรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวน จดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
  • ให้ทำการโอน ย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภาย หลัง
  • พึงระลึกเสมอ ว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้ จดหมาย
จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

             ครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
  • ควรเรียก สนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
  • ก่อนการเรียก คู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละ ครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้  เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่ง ไม่สามารถหยุดได้
  • หลังจากเรียก ไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
  • ควรให้วาจา สุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลาย ระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าว หลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง    ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ   ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
  • ให้เขียน เรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
  • ในแต่ละ เรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
  • ในการเขียน พาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
  • ให้แหล่งที่ มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิด ชอบ
  • จำกัดความยาว ของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
  • ข่าวบางข่าว มีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
  • ไม่ควรให้ เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อ ประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า
  • การเขียนข่าว ทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่ง แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ในการทดสอบ การส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
  • หลีกเลี่ยง การใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่ พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
  • ไม่ควรนำข้อ ความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
  • ไม่ควรใช้ข้อ ความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
  • ให้ความสำคัญ ในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ไม่ควรคัดลอก ข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มี การสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
  • ไม่ควรใช้ กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
  • เมื่อต้องการ ใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
    • IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
    • FYI-for  your  information
    • BTW-by  the  way
  • การเขียนข้อ ความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียน หรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าว จำนวนมาก
  • ในการเขียนคำ ถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
  • ในการบอกรับ ข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่าน ข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้ จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ

               ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็น แม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ

1.        ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.       ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท
         จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับ ผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้อง มีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่ง กันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ ชัดเจน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะ เข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
หมาย เหตุ  ข้อมูลถามตอบนี้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การนำไปใช้และอ้างอิงใดๆจึงควรพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดอีกครั้ง
1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะ ลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ   การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำ ขึ้นเป็นการเฉพาะ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตาม ปกติ
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิด
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับ ผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.             ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2.             ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3.             ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4.             ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้าง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน
ตอบ: ใน กรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้
1.             ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
2.             ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
6. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้เลย ถือว่าทำผิดพ.ร.บ.หรือไม่
ตอบ: ถือ ว่าทำผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท
7. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.นี้ จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อใด
ตอบ: ขอแบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกหากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือให้ สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าว ภายใน90 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ อีกกรณีหนึ่งคือในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
8. ถาม: บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.นี้
ตอบ ผู้กระทำผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ฐานความผิด
โทษจำคุก
โทษปรับ
การ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 6 เดือน
ไม่เกิน 10,000 บาท
การ เปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการ เฉพาะโดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 1 ปี
ไม่เกิน 20,000 บาท
การ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 2 ปี
ไม่เกิน 40,000 บาท
การ ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 3 ปี
ไม่เกิน 60,000 บาท
การ ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน 100,000 บาท
การ กระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตาม ปกติ
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน 100,000 บาท
การ ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail)
ไม่มี
ไม่เกิน 100,000 บาท
การ จำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ไม่เกิน 1 ปี
ไม่เกิน 20,000 บาท
การ กระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน 10 ปี
3 ปีถึง 15 ปี
10 ปีถึง 20 ปี

และไม่เกิน 200,000 บาท
และ60,000-300,000 บาท
ไม่มี
การ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม)
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
การ ตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
ไม่เกิน 3 ปี
ไม่เกิน 60,000 บาท

9. ถาม: ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างไร
ตอบ: หากเกิดกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตศาล

1.             มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
2.             เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.             สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้า หน้าที่
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศาล (พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจ ตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์ นั้นไว้เป็นหลักฐาน)
4.             ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้า หน้าที่
5.             สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
6.             ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
7.             ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
8.             ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็น เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระ ราชบัญญัตินี้
10. ถาม: หากได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนในการสืบสวนอย่างไร
ตอบ: หากคุณได้เข้าแจ้งความแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1.             เมื่อได้รับการร้องทุกข์หรือตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP Address และวันเวลาที่พบการกระทำความผิด
2.             เมื่อทำการตรวจหมายเลข IP Address แล้วพบว่าเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) รายใด เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือสอบถามข้อมูลจราจรและข้อมูลผู้ใช้บริการ
3.             หลังจากนั้นจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีราย ชื่อปรากฏมาให้ปากคำ
11. ถาม: ถ้าหากคุณเป็นผู้เสียหายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ: หาก คุณกลายเป็นผู้เสียหาย แนะนำว่าให้คุณจดจำ URL (Uniform Resource Locater) ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และให้คุณรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถหาได้ เช่น จัดพิมพ์รายละเอียดต่างๆ จดจำวันเวลาและสถานที่ที่พบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แล้วให้รีบไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น
12. ถาม: หากต้องการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน และมีหน่วยงานใดบ้างที่ดูแลรับผิดชอบ
ตอบ: สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ได้จากเว็บไซต์ของหลากหลาย หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ อาทิ
1.             กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th
2.             ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :http://htcc.police.go.th
3.             กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://ict.police.go.th
4.             สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th
5.             กรมสอบสวนคดีพิเศษ: http://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp
6.             เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php
ที่ มา : http://www.inet.co.th/computer_act/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น